Lighting for Manufacturing > Hazardous Area
ในพื้นที่ที่มีของเหลว ก๊าซ ไอระเหย หรือฝุ่นละอองที่สามารถติดไฟได้อยู่
จะถือได้ว่าเป็นพื้นที่อันตราย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และเทคนิคการติดตั้ง
ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการระเบิดที่อาจเกิดขึ้น
โคมไฟกันระเบิด หรือ LED Explosion Proof เป็นโคมไฟพิเศษ สำหรับใช้งานในพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดการระเบิดหรือเกิดประกายไฟ ป้องกันการระเบิดจากการสปาร์คภายในโคมไม่ให้ออกไปทำปฏิกิริยาภายนอกกับก๊าซ ไอระเหย และสารไวไฟที่มีความอันตรายที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ป้องกันการจุดติดและการระเบิด กล่าวคือ จะไม่เป็นชนวนให้เกิดการระเบิดต่อได้ เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจอุตสาหกรรม ยิ่งในบริเวณอันตราย อย่างโรงกลั่นน้ำมัน สถานประกอบการเกี่ยวกับบรรจุก๊าซและปิโตรเลียม โรงงานพ่นสี โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โกดังเก็บสินค้าไซโล (กระสอบ เทกอง) โรงงานแป้งมัน โรงงานทอผ้า เป็นต้น
เมื่อไหร่ที่จะเกิดการระเบิด?
จากทฤษฎีการเกิดไฟ จะต้องมีองค์ประกอบร่วม 3 อย่าง คือ
- มีสารไวไฟ (Flammable Material) ปริมาณมากพอที่จะจุดติดไฟได้
- มีปริมาณ Oxygen ที่เพียงพอ (ในอากาศปกติจะมีประมาณ 21%)
- มีแหล่งจุดติดไฟ (Ignition Source)
- พื้นผิวที่ร้อน
- เปลวไฟหรือก๊าซร้อน (รวมทั้งฝุ่นร้อน) ไอเสียจากการสันดาปภายใน
- ประกายไฟที่เกิดจากการเสียดสีของวัสดุ เช่นสิ่วขึ้นสนิมสัมผัสกับโลหะ
- อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- กระแสไฟรั่ว
- ไฟฟ้าสถิต เช่น การเสียดสีของผ้า
- ฟ้าผ่า
โคมไฟกันระเบิด จำเป็นต่อพื้นที่เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน?
มีการแบ่ง Zone พื้นที่อันตราย (Gas & Vapor) ตามมาตรฐานสากลเป็น 3 พื้นที่
ตามมาตรฐาน IEC (ยุโรป) หรือ [NEC (อเมริกา)] *เวลาใช้ให้ยึดตามอันใดอันหนึ่ง
Zone 0 [Class I: Division 1] พื้นที่ที่มีแก๊ส หรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศ ด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้ อยู่เป็นประจำ หรือ เป็นช่วงเวลานานมากกว่า 1,000 ชั่วโมง/ปี ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่นี้
ตัวอย่างสถานที่ - ภายในถังบรรจุสารไวไฟ, พื้นที่ใกล้ช่องเปิดของถังบรรจุที่อาจทำให้แก๊สหรือไอระเหยรั่วกระจายออกมาสู่ภายนอกได้ อุปกรณ์เครื่องมือถ้าเกิดลัดวงจร พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นจะไม่มากพอทำให้เกิดแก๊สหรือไอระเหยไวไฟเกิดการจุดติดไฟได้
Zone 1 [Class I: Division 1] พื้นที่ที่มีแก๊ส หรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้ ในระหว่างที่มีกระบวนการทำงานปกติ, ช่วงเวลาที่มีการซ่อมบำรุง, ระหว่างที่มีความผิดพลาดในกระบวนการทำงานก็ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารไวไฟขึ้นได้ รวมถึงพื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่ในZone 0 หรือมีสสารอันตรายระหว่าง 10-1,000 ชั่วโมง/ปี ซึ่งต้องใช้โคมไฟกันระเบิดระดับ Zone 1 หรือ 21 เท่านั้น (สภาวะปกติ)
ตัวอย่างสถานที่
• บริเวณรอบช่องเปิดของถังบรรจุ
• บริเวณรอบ Safety Value และบริเวณใกล้กับ Seal ของ Pump หรือ Compressor
• จุดถ่ายเทสารไวไฟ, บริเวณที่มีการถ่ายบรรจุแก๊ส
• บริเวณที่มีการใช้สารตัวทำละลาย (Solvent)
• บริเวณที่มีการพ่นเคลือบสี
• ห้องที่มีการใช้สารไวไฟซึ่งไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม
Zone 2 [Class I: Division 2] พื้นที่ที่มีแก๊ส หรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นเหมาะสมในการจุดติดไฟได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มีสสารอันตรายน้อยกว่า 10 ชั่วโมง/ปี ซึ่งต้องใช้ได้โคมไฟกันระเบิดระดับ Zone 2 หรือ 22 ขึ้นไป (สภาวะไม่ปกติ/อุบัติเหตุ)
ตัวอย่างสถานที่
‣ พื้นที่ที่สามารถเกิดการรั่วไหลของแก๊สหรือสารไวไฟ เนื่องจากมีการเกิดอุบัติเหตุ
‣ พื้นที่เก็บถังบรรจุสารไวไฟและอาจเกิดมีรอยแตกร้าวของถังบรรจุ
‣ พื้นที่ที่มีการใช้สารไวไฟ แต่กระบวนการทำงานทุกขั้นตอนตามปกติจะไม่มีไอระเหยของสารไวไฟสามารถรั่วไหลออกมาได้
‣ พื้นที่ที่มีท่อนำแก๊สหรือสารไวไฟและอาจเกิดการรั่วไหลเนื่องจากความบกพร้องของข้อต่อและวาล์ว
‣ พื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่ใน Zone 1
เปรียบเทียบการจำแนกบริเวณอันตราย Class-Division vs. Zone
สัญลักษณ์การอ่านค่าอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด (ATEX)
โคมไฟกันระเบิดของ Boviga ถูกออกแบบพิเศษเพื่อใช้แทนโคมไฟแบบธรรมดาสำหรับใช้งานในพื้นที่อันตราย ทั้งแบบ indoor และ outdoor มีความส่องสว่างสูง น้ำหนักพอเหมาะ อีกทั้งยังมีตัวเลือกการติดตั้ง (Mounting) ที่หลากหลาย สำหรับใช้งานในบ่อน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก พลังงาน ท่าเรือ ปิโตรเลียม เป็นต้น ผ่านการรับรอง ATEX และ IECEx: กลุ่ม IIA IIB IIC, Zone 1 Zone 2, Zone 21 Zone 22, Temperature class: T1 ถึง T6 ในเขตพื้นที่อันตราย