การออกแบบแสงสว่างภายในสำนักงาน

September 03, 2019 1 min read

การออกแบบแสงสว่างภายในสำนักงาน

          การออกแบบเพื่อให้ได้ระบบแสงสว่างที่ดี นอกจากจะต้องให้ได้ปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่มากหรือน้อยไปแล้ว ยังต้องให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้แสงนั้น มีความรู้สึกสบายในการทำงาน และรู้สึกสบายในการใช้สายตา คือ ความจ้าของแสงที่เกิดจากไฟและสภาพแวดล้อมต้องกลมกลืนกัน ไม่มีแสงแยงตาจากดวงโคมโดยตรง หรือสะท้อนจากวัตถุ นอกจากนี้ยังต้องมีความสวยงามของระบบแสงสว่างที่ติดตั้ง ตลอดจนลักษณะของงานที่ทำด้วย

         การปฏิบัติงานภายใต้ระบบแสงสว่างที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้เร็วขึ้น มากขึ้น ละเอียดมากขึ้น มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานดีขึ้นด้วย ในทำนองกลับกัน ถ้าพนักงานต้องทำงานในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ อาจจะมีผลทำให้จำนวนครั้งของความผิดพลาดในการทำงาน มีมากขึ้น และถ้าพนักงานจะต้องทำงานอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลานานๆ อาจจะมีผลกระทบให้กล้ามเนื้อตาล้า และเสื่อมง่าย

 

ค่าความสว่างที่แนะนำสำหรับอาคารสำนักงาน

ชนิดของงานหรือกิจกรรมภายใน  Ēm (lux)
ทางเข้าอาคาร (entrance halls) 100
โถงพักรอ (lounge) 200
บริเวณสัญจรและทางเดิน (circulation areas and corridors) 100
บันได, บันไดเลื่อน (stairs, escalators) 150
ห้องอาหาร (canteens) 200
ห้องน้ำ (rest rooms) 100
เก็บเอกสาร, ที่ถ่ายเอกสาร, โถงกลาง (filing, coping, circulation, etc.) 300
เขียน, พิมพ์, อ่าน, จัดการข้อมูล (writing, typing, reading, processing) 500
เขียนแบบ (technical drawing) 750
โต๊ะเขียนแบบคอมพิวเตอร์ (CAD workstation) 500
ห้องประชุม, ห้องสัมมนา (conference room, meeting room) 300
โต๊ะพนักงานต้อนรับ (reception desk) 300
ห้องเก็บเอกสารสำคัญ (archives) 200

 

อ้างอิง

1.พิบูลย์ ดิษฐอุดม. การออกแบบระบบแสงสว่าง.กรุงเทพฯ: 2528.  

2.สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร.กรุงเทพฯ:


contact