การประเมินและควบคุมระยะความปลอดภัยของรังสี UVC เพื่อการใช้งานอย่างมั่นใจ ไร้เชื้อโรคในอากากาศ

May 25, 2024 2 min read

การประเมินและควบคุมระยะความปลอดภัยของรังสี UVC เพื่อการใช้งานอย่างมั่นใจ ไร้เชื้อโรคในอากากาศ

 

disinfection upper air CM | โคมไฟ UVC แบบติดตั้งเพดาน

เทคโนโลยีแสงยูวีซี (UVC) เป็นแสงที่มีคุณสมบัติในการทำลายดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรคในอากาศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพถึง 99.99% การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก นับเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดการสะสมของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

แต่แสง UVC ที่มีความสามารถในการทำลายดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรค ก็สามารถทำลายเซลล์ของมนุษย์ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อกำหนดในการการติดตั้งที่ความสูงไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และการตรวจสอบความเข้มข้นของแสงอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัย

 

 

PJR UVC

 

โดยลักษณะพื้นที่หน้างาน : เป็นที่ที่ใช้รับรองภายในสถานศึกษา ซึ่งมีนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเข้าใช้งานเป็นจำนวนมากต่อวัน จึงทำให้ภายในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการสะสมของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ โดยการติดตั้ง UVC ฆ่าเชื้อโรค เปิดใช้งานตามเวลา 8.00 น. - 16.00 น. ระยะเวลาการใช้งานต่อวัน 8 ชั่วโมง ติดตั้งทั้งหมด 19 โคม ประกอบด้วย

ห้องรับรองนักศึกษา : มีความสูง 2.65 เมตร จำนวน 3 โคม
ห้องประชุม : มีความสูง 2.66 เมตร จำนวน 2 โคม
ห้องสมุด: แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่คือ

• ห้องสมุดชั้น 3 : มีความสูง 2.79 เมตร จำนวน 4 โคม

• บริเวณทางเดินชั้น 4 : มีความสูง 2.65 เมตร จำนวน 5 โคม
• ห้องสมุดชั้น 4 : มีความสูง 2.72 เมตร จำนวน 5 โคม

 

PJR UVC

 

การตรวจวัดระยะปลอดภัยของค่าแสง UVC

เป็นกระบวนการที่สำคัญในการประเมินและควบคุมความเสี่ยงในการใช้งานแสง UVC เพื่อฆ่าเชื้อโรค เราจึงต้องตรวจวัดอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าแสง UVC ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ UVC

ในการตรวจวัดระยะความปลอดภัย ใช้วิธีวัดความเข้มข้นของแสง UV-C โดยมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการสัมผัสแสง UVC ต้องไม่เกินค่ามาตรฐานของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CentersforDisease Control and Prevention (CDC)) ที่กำหนดไว้ ซึ่งระยะความปลอดภัยจะสอดคล้องกับระยะเวลาในการใช้ต่อวัน ตามตารางดังนี้

ค่ารังสีสูงสุดที่ปลอดภัย ช่วงคลื่น 254 nm
จำนวน/วัน ที่เปิดเครื่อง UVC
[ชั่วโมง]
ค่ารังสีที่ปลอดภัย
[mW/m²]
 ค่ารังสีที่ปลอดภัย
[μW/cm²]
24
0.7
0.07
18
0.9
0.09
12
1.4
0.14
10
1.7
0.17
8
2
0.2
4
4
0.4
2
8
0.8
1
17
1.7

 จากลักษณะการใช้งาน มีการเปิดใช้งานเวลา 8.00 น. - 16.00 น รวม 8 ชั่วโมง
ค่าความเข้มข้นของรังสีที่อยู่ในระยะปลอดภัยจึงต้องไม่เกิน 2 mW/m²

 

เครื่องมือที่ใช้การตรวจวัดค่ารังสี

นอกจากความเข้มข้นของรังสีต้องได้มาตรฐานแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวัดก็ต้องได้มาตรฐานเช่นกัน โดยเครื่องที่เราใช้คือเครื่องตรวจวัดรัง ที่มีความยาวคลื่น 253.7 nm

รุ่น X15 Optometer จากแบรนด์ Gigahertz- Optik ที่ได้รับการรับรองโดย PTB (สถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งเยอรมนี) และ DAkkS (หน่วยงานรับรองระบบงานแห่งเยอรมนี) โดยวัดในหน่วย μW/cm²

 

PJR UVC

 

ผลการตรวจวัดระยะปลอดภัยของค่าแสง UVC

หลังจากการตรวจวัดรังสีภายในบริเวณที่ติดตั้ง ด้วยการวัดในแนวระนาบสูงจากพื้น 1.83 เมตร ทำการวัดตำแหน่งใต้เครื่องและระยะระหว่างเครื่อง 1 เมตรทั้ง 4 ด้าน มีผลดังนี้

► ห้องรับรองนักศึกษา : ความสูงระหว่างพื้นถึงตัวเครื่อง 2.51 เมตร
มีค่าสูงสุดที่ 1.258 mW/m² และค่าต่ำสุดที่ 0.905 mW/m²

► ห้องประชุม : ความสูงระหว่างพื้นถึงตัวเครื่อง 2.66 เมตร
มีค่าสูงสุดที่ 1.494 mW/m² และค่าต่ำสุดที่ 0.725 mW/m²

► ห้องสมุด
• ห้องสมุดชั้น 3 : ความสูงระหว่างพื้นถึงตัวเครื่อง 2.65 เมตร
มีค่าสูงสุดที่ 1.742 mW/m² และค่าต่ำสุดที่ 0.696 mW/m²
• บริเวณทางเดินชั้น 4 : ความสูงระหว่างพื้นถึงตัวเครื่อง 2.58 เมตร
มีค่าสูงสุดที่ 1.035 mW/m² และค่าต่ำสุดที่ 0.632 mW/m²
• ห้องสมุดชั้น 4 : ความสูงระหว่างพื้นถึงตัวเครื่อง 2.52 เมตร
มีค่าสูงสุดที่ 1.989 mW/m² และค่าต่ำสุดที่ 0.703 mW/m² 

 

PJR UVC

PJR UVC

PJR UVC

PJR UVC

PJR UVC

PJR UVC


contact